

ความหลากหลายของบัวในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษได้ทำการรวบรวมพันธุ์บัวในพื้นที่อีสานใต้ เพื่อศึกษาความหลากหลายของพันธุ์บัว ได้จำแนกบัวไว้เป็นหมวดหมู่ตามหลักการจัดจำแนกด้วยลักษณะสัณฐานวิทยา ได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มบัวปทุมชาติ (วงศ์ Nelumbonaceae) มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ดังนี้
- ลำต้น | ทอดเลื้อยตามผิวดิน เห็นข้อปล้องชัดเจน |
- ใบ | ชูขึ้นเหนือน้ำ |
- ก้านใบและดอก | มีหนามแข็งปกคลุม |
- ดอก | บานตอนกลางวัน ชูขึ้นเหนือน้ำ |
- ฝัก | อยู่เหนือน้ำ |
- เมล็ด | ขนาดใหญ่และแข็ง |
กลุ่มบัวปทุมชาติ ได้มีการจัดกลุ่มย่อยตามลักษณะการซ้อนของกลีบดอกได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มที่มีการซ้อนของกลีบดอกน้อยชั้น ได้แก่ บุณฑริก และปทุม (Nelumbo nucifera Gaertn.)
2. กลุ่มที่มีการซ้อนของกลีบดอกมาก ซึ่งจำนวนกลีบดอกที่เพิ่มขึ้นเกิดจากการกลายรูปร่างของเกสรเพศผู้ให้มีลักษณะเหมือนกลีบดอก ได้แก่ สัตตบงกช และสัตตบุษย์ (Nelumbo nucifera Gaertn.)
2. กลุ่มบัวอุบลชาติ (วงศ์ Nymphaeaceae) มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ดังนี้
- ลำต้น | อยู่ใต้ดิน มีข้อปล้องไม่ชัดเจน |
- ใบ | ลอยอยู่เหนือน้ำ |
- ก้านใบและดอก | อวบน้ำ ผิวเรียบ |
- ดอก | ลอยอยู่เหนือน้ำ |
- ฝัก | จมอยู่ใต้น้ำ |
- เมล็ด | ขนาดเล็ก |
กลุ่มบัวอุบลชาติ ได้มีการจัดกลุ่มย่อยตามลักษณะการบานของดอกได้เป็น 2 กลุ่ม
1. กลุ่มที่ดอกบานตอนกลางวัน ได้แก่ บัวผันเผื่อน (Nymphaea nouchali Burm.f.)
2. กลุ่มที่ดอกบานตอนกลางคืน ได้แก่ บัวสาย และ เศวตอุบล (Nymphaea pubescense Willd.)
สุดใจ ล้อเจริญ
นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ
ผู้รวบรวมและเรียบเรียง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น