วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553

เกษตรกรดูงานผลิตเมล็ดพันธุ์

วันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2553 มีเกษตรกรพร้อมเจ้าหน้าที่ จำนวน 72 คน จากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโนนสูง และมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา มาจัดอบรมเรื่อง การบริหารจัดการกองทุนพริกและศึกษาดูงานการผลิตเมล็ดพันธุ์พริกหัวเรือ ศก.13 และศก.25 หลังจากเกษตรกรได้ลงไปดูแปลง และเห็นผลผลิตแล้ว เกษตรกรมีความพึงพอใจเป็นอย่างมาก พร้อมใจจะเปลี่ยนพันธุ์ปลูกจากพันธุ์จินดาพื้นเมือง ซึ่งเกษตรกรมีปัญหาการระบาดของโรคจนไม่สามารถเก็บผลผลิตได้ มาปลูกพริกพันธุ์หัวเรือ ศก.13

วันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2553

การผลิตเมล็ดพันธุ์มะละกอ

การเก็บเกี่ยว และทำความสะอาดเมล็ดมะละกอ

1. ทำการเก็บผลผลิตเมื่อผลมะละกอปรากฏสีเหลือง 25 - 30 เปอร์เซ็นต์ หรือมีสีเหลืองหนึ่งในสี่ของผล นำมาบ่มไว้ 2 - 3 วัน จนมะละกอสุกเต็มที่แล้วผ่าขูดเอาเมล็ดออก

2. นำเมล็ดที่ได้มาแช่ในน้ำสะอาดให้ท่วมเมล็ด หมักไว้ 1 คืน ไม่ควรหมักเมล็ดไว้นาน เพราะจะทำให้เมล็ดมีเปอร์เซ็นต์ความงอกต่ำ

3. ล้างเมล็ดโดยนำเมล็ดมาใส่ถาดที่มีรูหรือถุงตาข่าย สวมถุงมือขยี้หรือใช้ยางบดเบาๆ เพื่อแยกเอาเยื่อหุ้มเมล็ดออก

4. นำเมล็ดที่แยกเยื่อหุ้มเมล็ดออกแล้วมาเทลงในน้ำ เลือกไว้เฉพาะเมล็ดดีที่จมน้ำ ทิ้งเมล็ดที่ลีบและที่ลอยน้ำไป

5. นำเมล็ดที่ดีซึ่งเป็นเมล็ดที่สมบูรณ์ และสะอาด ใส่ถาดหรือกระด้งไม้ไผ่นำไปผึ่งในที่ร่มมีลมถ่ายเท ประมาณ 2 - 3 วัน เมล็ดจะแห้ง (ผลผลิตมะละกอแขกดำศรีสะเกษ 1 ตัน ให้เมล็ดมะละกอสด 30 กิโลกรัม และได้เมล็ดพันธุ์ 5 กิโลกรัม)

6. ทำความสะอาดเมล็ดโดยนำเมล็ดที่แห้งดีแล้วมาร่อนเอาผงฝุ่น และสิ่งเจือปนอื่นๆ ออก


การผลิตมะละกอแขกดำศรีสะเกษ
http://it.doa.go.th/doatv/index.php?option=com_jmultimedia&view=media&layout=default&id=9

เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์มะละกอแขกดำศรีสะเกษและการนำไปใช้ประโยชน์

http://it.doa.go.th/refs/files/549_2551.pdf?PHPSESSID=962b3daad5a2663f92abb5d1e2b9ab8e

การเพิ่มผลผลิตมะลิฤดูหนาว

การเพิ่มผลผลิตมะลิลาในฤดูหนาวโดยการพ่นสารเคมี โดย นายธวัชชัย นิ่มกิ่งรัตน์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ
http://www.agri.cmu.ac.th/journal/pdf/J00102_C00652.pdf

วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553

มะเขือเทศ ศก.19

มะเขือเทศ ศก.19
ลักษณะทางการเกษตร

ปลูกฤดูฝน ผลกว้าง 2 เซนติเมตร ยาว 3.5 เซนติเมตร ฤดูหนาว ผลกว้าง 3.5 เซนติเมตร ยาว 4.7 เซนติเมตร

การเก็บเกี่ยว
55-60 วันหลังปลูก ให้ผลเร็ว ปลูกได้ดีในฤดูฝน ผลผลิต ในฤดูฝน 1.4 ตัน/ไร่ ฤดูหนาว 4.7 ตัน/ไร่

เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับการผลิตมะเขือเทศ
http://as.doa.go.th/plant/gap/gap_Tomato_1.html

มะเขือเทศ ศก.1

มะเขือเทศ ศก.1

ลักษณะทางการเกษตร

ผลกว้าง 3 เซนติเมตร ยาว 4.3 เซนติเมตร รูปร่างคล้ายลูกแพร์ สีก่อนสุกสีขาวอมชมพู เมื่อสุกสีชมพูแดง เปลือกผลหนา เก็บไว้ได้นาน ทนต่อการขนส่ง

การเก็บเกี่ยว 55 - 60 วันหลังปลูก ให้ผลเร็ว ปลูก ได้ดีในฤดูฝน

ผลผลิต 2-3 ตัน/ไร่

พริกขี้หนูหัวเรือ ศก.25

พริกขี้หนูหัวเรือ ศก.25

ลักษณะทางการเกษตร

เป็นพริกที่ให้ผลผลิตพริกสดและผลผลิตพริกแห้งสูงกว่าสายพันธุ์ที่เกษตรกรใช้อยู่ ผลสดมีสีแดงปนส้มเล็กน้อย ผลตรง ผลยาว 7.0 เซนติเมตร ผลกว้าง 0.95 เซนติเมตร ความสูงและเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 - 90 เซนติเมตร

การเก็บเกี่ยว ผลสุก 90 วันหลังปลูก ผลสด 1.69 ตัน/ไร่ ผลแห้ง 484.2 กิโลกรัม/ไร่ จำนวนผล 252 ผล/ต้น น้ำหนักผลสด 530.2 กรัม/ต้น


เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับการผลิตพริก

http://as.doa.go.th/plant/gap/gap_Chilli_1.html

พริกขี้หนูหัวเรือ ศก.13

พริกขี้หนูหัวเรือ ศก.13

ลักษณะ ทางการเกษตร

เป็นพริกที่ให้ผลผลิตพริกสดและผลผลิตพริกแห้งสูงกว่าสายพันธุ์ที่เกษตรกรใช้อยู่ ผลสดมีสีแดงปนส้มเล็กน้อย ผลตรง ขนาดผลใหญ่ ผลยาว 7.8 เซนติเมตร ผลกว้าง 1.03 เซนติเมตร ความสูงและเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 - 90 เซนติเมตร

การเก็บเกี่ยว ผลสุก 90 วันหลังปลูก ผลสด 1.74 ตัน/ไร่ ผลแห้ง 476.9 กิโลกรัม/ไร่ จำนวนผล 241 ผล/ต้น น้ำหนักผลสด 545.1 กรัม/ต้น



การปรับปรุงพันธุ์พริกขี้หนูรับประทานสดพันธุ์หัวเรือ

http://it.doa.go.th/lib/images/Downloads/2550/EB00214.pdf


การศึกษาความหนาแน่นของประชากรพริกหัวเรือ ศก.13 ที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่จังหวัดน่าน

http://www.agi.nu.ac.th/proceeding/Poster/3.CP%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81/CP_310_313.pdf


พริกขี้หนูห้วยสีทน ศก.1

พริกขี้ หนูห้วยสีทน ศก.1

ลักษณะทางการเกษตร

ผลสุกสีแดงเข้ม พริกแห้งผิวเรียบมัน ผลยาว 4.4 เซนติเมตร ผลกว้าง 0.70 เซนติเมตร ความสูงและเส้นผ่าศูนย์กลาง 70-80 เซนติเมตร

การเก็บเกี่ยว ผลสุก อายุ 120 วันหลังปลูก ผลผลิต 1.0 - 1.5 ตัน/ไร่ ผลสด 1 กิโลกรัม ตาก เป็นพริกแห้ง 0.43 กิโลกรัม


มะม่วงหิมพานต์ ศก.60-1 และ ศก.60-2

มะม่วง หิมพานต์ ศก.60-1, ศก.60-2

ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ได้ ทำการคัดเลือกพันธุ์ เพื่อให้ได้ต้นพันธุ์ดี ให้ผล ผลิตสูง ติดผลทุกปี ขนาดเมล็ดใหญ่ คุณภาพเมล็ดได้ มาตรฐานเนื้อใน เมล็ดดีหรือเมล็ดจมน้ำมากกว่า 75 เมล็ดในหนึ่งร้อยเมล็ด เมล็ดดิบ 4 กก. กะเทาะได้เมล็ดเนื้อในอย่างน้อย 1 กก.และมีลักษณะอื่นๆ ดี เช่น เป็นพันธุ์เบา ต้านทานต่อโรคแมลง มีลักษณะทรงพุ่ม ดี จึงได้พันธุ์ศรีสะเกษ 60-1 และ ศรีสะเกษ 60-2 เป็นพันธุ์รับรอง และพันธุ์ลูกผสมรวม ศรีสะเกษ -A (SK-A)เป็นพันธุ์แนะนำ


งานทดลองมะม่วงหิมพานต์ ศก.60-1 และ ศก.60-2

http://www.actahort.org/members/showpdf?booknrarnr=321_22

การปลูกมะม่วงหิมพานต์

http://natres.psu.ac.th/Researchcenter/tropicalfruit/fruit/cashewnut.htm


มะม่วงแก้วศรีสะเกษ 007

มะม่วงแก้วศรีสะเกษ 007

ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ได้ทำการคัด เลือกพันธุ์มะม่วงแก้ว และกรมวิชาการเกษตรพิจารณา ให้เป็นพันธุ์แนะนำ เมื่อ วันที่ 24 สิงหาคม 2537

ลักษณะทางการเกษตร

- ต้านทานต่อโรคแอนแทรคโนสได้ดีเมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์น้ำดอกไม้ที่อ่อนแอ ต่อโรคนี้

- ผลผลิตสูงเฉลี่ย 65.4 กิโลกรัมต่อต้น เมื่ออายุ 7-8 ปี สูงกว่าพันธุ์อื่น 60 เปอร์เซ็นต์

- น้ำหนักผล 252 กรัม มีเนื้อ 81 เปอร์เซ็นต์

- ติดผลดก ผลใหญ่มีเนื้อมาก เปลือกหนาเนื้อแน่นแข็ง เหมาะสำหรับรับประทานสด สุกและแปรรูป


านทดลองมะม่วงแก้วศรีสะเกษ 007
http://www.actahort.org/members/showpdf?booknrarnr=509_18

มะขามเปรี้ยว ศก.019

มะขามเปรี้ยว ศก.019
ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ได้คัดเลือกพันธุ์มะขามเปรี้ยว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2529
2535 ได้รับการพิจารณาให้เป็นพันธุ์แนะนำจากกรมวิชาการเกษตร เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2537
ลักษณะทางการเกษตร

- เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 2 ปี หลังเปลี่ยนยอด
- ผลผลิตเฉลี่ย เท่ากับ 25.6 กิโลกรัม/ต้น/ปี ฝัก ใหญ่ตรง มี 51 ฝัก/กิโลกรัม
- มีเนื้อ 46 เปอร์เซ็นต์ มีกรดทาร์ทาริก สูงถึง 17 เปอร์เซ็นต์ เนื้อมีสีน้ำตาลเข้ม เหมาะ สำหรับแปรรูปและการบริโภค

การปลูกมะขามเปรี้ยว ศก.019 เรียบเรียงโดย นายชูศักดิ์ สัจจะพงษ์ ผู้ทำการคัดพันธุ์
http://www.cedis.or.th/download/pdf/fruit34.pdf

มะละกอแขกดำศรีสะเกษ

มะละกอแขกดำศรีสะเกษ
ลักษณะทางการเกษตร
ทนทานโรคใบจุดวงแหวน ได้ดีปานกลาง

การเก็บเกี่ยว

ผลดิบ อายุ 3-4 เดือน หลังดอกบาน เนื้อผลกรอบเหมาะทำส้มตำ
ผลสุก อายุ 5-6 เดือน หลังดอกบาน
ความหวาน 13.5 องศาบริกซ์ ผลดก ติดผลไว
เหมาะกินสุก และแปรรูปบรรจุกระป๋อง
ผลผลิต 52.2 กก./ต้น/ปี น้ำหนักผล 1.28 กก.


งานด้านบริการวิชาการ และถ่ายทอดเทคโนโลยี


งานด้านบริการวิชาการ และถ่ายทอดเทคโนโลยี
ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ได้ดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยี และให้บริการวิชาการ แก่ข้าราชการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป ในรูปแบบ ต่างๆ ได้แก่

1. คลินิกเกษตรเคลื่อนที่

2. โครงการจังหวัดเคลื่อนที่
3. หน่วยงานต่าง ที่มีศึกษาดูงาน
4. เป็นวิทยากรในการฝึกอบรมต่างๆ ให้แก่เกษตรกร

5. จัดนิทรรศการ

6. งานวิเคราะห์บริการ ได้ดำเนินการตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม จากตัวอย่างพืช

งานวิจัยและพัฒนา ปี 2553

งานวิจัยและพัฒนา ปี 2553

- ศึกษาเทคโนโลยีการจัดการธาตุอาหารปาล์มน้ำมันลูกผสมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

- การทดสอบพันธุ์และเทคโนโลยีกับปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (จ.ศรีสะเกษ)

- การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้เขาพระวิหารเพื่อการขยายพันธุ์

- การเปรียบเทียบพันธุ์สบู่ดำ

- สำรวจ รวบรวม และศึกษาเชื้อพันธุกรรมพืชกลุ่มไม้ผลที่สำคัญจากแหล่งพันธุกรรมท้องถิ่น (on farm) และสภาพถิ่นเดิม (In situ) ได้แก่ ส้ม

- สำรวจ รวบรวม และศึกษาเชื้อพันธุกรรมพืชกลุ่มไม้ผลจากแหล่งผลิตพันธุกรรมท้องถิ่น (on farm) และสภาพถิ่นเดิม (In situ) จำนวน 3 การทดลอง ได้แก่

ไม้ผลพื้นเมือง ไม้ผลเมืองร้อน มะะกอกน้ำมัน

- สำรวจ รวบรวม และศึกษาเชื้อพันธุกรรมพืชกลุ่มไม้ดอกไม้ประดับจากแหล่งพันธุกรรมท้องถิ่น (on farm) และสภาพถิ่นเดิม (In situ) ไม้หอมและไม้ดอกไม้ประดับ จำนวน 2 การทดลองได้แก่ ไม้หอม บัว

- สำรวจ รวบรวม และศึกษาเชื้อพันธุกรรมพืชกลุ่มผักพื้นเมืองจากแหล่งพันธุกรรมท้องถิ่น (on farm) และสภาพถิ่นเดิม (In situ ได้แก่ ผักพื้นเมือง

- การศึกษาจำแนกลักษณะพันธุกรรมโดยสัณฐานวิทยาของพืชกลุ่มไม้ผลสำคัญ และพืชกลุ่มไม้ผล จำนวน 2 การทดลอง ได้แก่ ไม้ผลต่างประเทศ มะละกอ

- การศึกษาจำแนกลักษณะพันธุกรรมโดยสัณฐานวิทยาของพืชสวนอุตสาหกรรม ในแปลงรวบรวมพันธุ์ (Ex situ) และสภาพถิ่นเดิม (In situ) ได้แก่

มะม่วงหิมพานต์

- การจำแนกลักษณะพันธุกรรมโดยสัณฐานวิทยาของพืช กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับที่มีศักยภาพในการแข่งขัน ในแปลงรวบรวมพันธุ์และพืชไม้ดอกไม้ประดับ ในแปลงรวบรวมพันธุ์ (Ex situ) และสภาพถิ่นเดิม (In situ) จำนวน 3 การทดลอง ได้แก่ กล้วยไม้สกุลหวาย แวนด้า และรองเท้านารี, มะลิ และบัว

- การศึกษาจำแนกลักษณะพันธุกรรมโดยสัณฐานวิทยาของกลุ่มพืชสมุนไพร/พืชหายากในแปลงรวบรวมพันธุ์ (Ex situ) และสภาพถิ่นเดิม (In situ) ได้แก่ สมุนไพร

- ศึกษา รวบรวมสายพันธุ์พืชสมุนไพรที่เป็นอาหารเสริมสุขภาพและสร้างสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ กระเจี๊ยบแดง

- การปรับปรุงพันธุ์พริกขี้หนูพันธุ์จินดา (ทดสอบพันธุ์)

- การปรับปรุงพันธุ์พริกพันธุ์ขี้หนูเลย (การเปรียบเทียบพันธุ์)

- การปรับปรุงพันธุ์พริกขี้หนูพันธุ์ยอดสน (การเปรียบเทียบพันธุ์)

- การผสมพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์พริกลูกผสมจินดา

- การบริหารจัดการโรคใบหงิกเหลืองของพริก

- การทดสอบพันธุ์มันเทศเพื่อการอุตสาหกรรมผลิตแป้งและเอทานอล

(2 ฤดูกาลปลูก)

- การทดสอบพันธุ์มันเทศเพื่อการบริโภคสด (2 ฤดูกาลปลูก)

- ศึกษาการใช้วัสดุบำรุงดินที่เหมาะสมในการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพมันเทศในเขตดินทราย

- ศึกษาการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตการบังคับมะกอกน้ำมันให้ออกดอก

- วิจัยและพัฒนาพันธุ์กล้วยไม้สกุลหวาย และกล้วยไม้สกุลนางอั้วและสกุลม้าวิ่ง

- การคัดเลือกสายพันธุ์เบญจมาศในแต่ละรุ่น

- ศึกษารูปแบบแปลงสาธิตการจัดการการผลิตการจัดการศัตรูพืชที่เหมาะสมในการปลูกส้มปลอดโรคในพื้นที่ จ.ศรีสะเกษ

- การทดสอบพันธุ์องุ่นจากต่างประเทศ

- การคัดเลือกพันธุ์มะม่วงลูกผสมสายพันธุ์ใหม่เพื่อการส่งออกและการแปรรูป

- ปรับปรุงพันธุ์มะละกอแขกนวล