วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553

ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ


ประวัติความเป็นมาและสถานที่ตั้ง

เริ่มก่อตั้งเป็นสถานีทดลองพืชสวนศรีสะเกษ เมื่อปี 2517 และยกระดับเป็นศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษในปี 2525 ตั้งอยู่ที่ .หนองไผ่ .เมือง จ. ศรีสะเกษ ห่างจากตัวจังหวัด 5 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพฯ 550 กิโลเมตร

สภาพภูมิอากาศเฉลี่ย 10 ปี (พ.ศ. 2542-2551)

อุณหภูมิเฉลี่ย สูงสุด 32.55 °C

อุณหภูมิเฉลี่ย ต่ำสุด 22.07 °C

ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,553 มม./ปี

ช่วงความยาวนานของแสงเฉลี่ย 7.4 ชม./วัน

ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยสูงสุด 90.7 %

ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยต่ำสุด 45.9 %

สภาพพื้นที่และแหล่งน้ำ

ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ มีพื้นที่ทั้งหมด 1,136 ไร่ สภาพพื้นที่เป็นที่ราบ สูงจากระดับน้ำทะเล 126 เมตร หน้าดินเป็นดินร่วนปนทรายถึงดินทรายปนดินร่วน เป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นกรดค่อนข้างจัด และมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

การชลประทานใช้น้ำจากหนองชี ซึ่งมีความจุ 400,000 ลูกบาศก์เมตร และผลิตเป็นน้ำประปาเพื่อการอุปโภค โดยมีถังจ่ายน้ำปริมาตร 50 ลูกบาศก์เมตร

หน้าที่และความรับผิดชอบ

ศึกษา วิจัยและและพัฒนา เพื่อแก้ปัญหาการผลิต พืชสวนเศรษฐกิจ ได้แก่ พริก มะละกอ มะม่วงอุตสาหกรรม องุ่น มะขามเปรี้ยว มะม่วงหิมพานต์ กล้วยไม้ดิน บัว เบญจมาศ มะลิ และสมุนไพร

โดยเน้นการดำเนินงานวิจัยแบบสหสาขาวิชา ได้แก่สาขาพืชศาสตร์ วิทยาการเมล็ดพันธุ์ ปรับปรุงการผลิตวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว และอารักขาพืช

ผลงานวิจัย และพัฒนาที่ได้ดำเนินการแล้ว

1. วิจัยและพัฒนาพันธุ์พืชสวนชนิดต่าง ๆ รวม 10 พันธุ์

2. วิจัยเพื่อแก้ปัญหาการปลูกพืชสวนในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ เช่น เทคโนโลยีการผลิตมะลิลา การปรับปรุงพันธุ์มะละกอ พริก และมะเขือเทศ เป็นต้น

3.ผลิตไม้ผล และพืชผักพันธุ์ดี เพื่อจำหน่าย จ่ายแจกแก่ผู้สนใจ

4.ร่วมดำเนินงานวิจัยและพัฒนาโครงการพระราชดำริ ที่สำคัญ คือ โครงการทับทิมสยาม 06 อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น