![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhFwPw4aRvyh64mF7_lBcPiOI8LZhyphenhyphenKaC-4_NxI-GFKLQmWbvJXPhFqlKqF1tNl4vstgi4ligyhF4FYVByn1g_Ee7czP39w_VjqC6mSSkmU8n8dInDx73RWb295two6Pjow-QdZPORBS2k/s320/Slide1.jpg)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiKOB2VgBHkuoN0ezAaA2hyphenhyphenXyclwWK5N6PrxRIN2zYRwrhZukHLhoZfRpDIZQdH4yUOSSOk3pRF2iAqhAyTk_0w2eadlbvEo3znVzLH66HbezlKGG8Rgi9-2AjrBbDhtKCCuY0zPrxp_80/s320/Slide2.jpg)
กล้วยไม้เขาพระวิหาร จัดเป็นกล้วยไม้พันธุ์แท้ในสกุล Vandopsis มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Vandopsis Lissochiloides (Gaud.) Pfitz ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เป็นกล้วยไม้เฉพาะถิ่นและเป็นพืชเด่นประจำอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร จังหวัดศรีสะเกษ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเอื้องระฟ้า พบมากบนเขาหินปูนในพื้นที่ป่าบริเวณเขาพระวิหารโดยเฉพาะในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ และตามตะเข็บชายแดนติดต่อระหว่างไทย-กัมพูชา มักขึ้นอยู่บนที่ราบ สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 200 - 500 เมตร พบได้ในที่โล่งแจ้งระหว่างโขดหินผาที่ร้อนระอุด้วยแสงแดดจนเกือบจะหาสิ่งปกคลุมได้ยาก กล้วยไม้เขาพระวิหารก็สามารถทนอยู่ได้ กล้วยไม้สกุลนี้มีแหล่งกำเนิดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กระจายพันธุ์อยู่ในประเทศต่าง ๆ เช่น พม่า ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดจีน จนถึงปาปัวนิวกินี ในประเทศไทยพบ 2 ชนิด คือ
1) พระยาฉัททันต์ ซึ่งสามารถพบได้ทั่วไป
2) เขาพระวิหาร จะเป็นชนิดประจำถิ่นเฉพาะภาคอีสานตอนล่างเท่านั้น
ลักษณะการเจริญเติบโต พบการเจริญเติบโต ตามก้อนหิน บนรอยแยกลานหิน ที่มีซากอินทรีย์วัตถุทับถม มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ขาดแคลนทั้งธาตุอาหารและน้ำ โดยจะมีลำต้นและรากที่ใหญ่สะสมอาหารไว้เพื่อความอยู่รอด รูปแบบการเจริญเติบโตแบบโมโนโพเดียล (monopodial) โดยจะเจริญเติบโตที่ปลายยอดไปได้เรื่อย ๆ มีการแตกตาที่โคนต้นบ้าง แต่ไม่แตกกอลำต้นเป็นแบบลำเดียว ขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 -2 นิ้ว ใบหนาแข็งขนาดใหญ่ รูปตัววีแคบ สีเขียวอ่อนถ้าอยู่ที่กลางที่โล่งแจ้งจะมีสีเขียวอมเหลือง ใบจะเรียงสลับตรงข้าม ตามแนวตั้ง ระนาบเดียวกัน (distichous)
ช่อดอกแบบกระจะ (raceme) คือ ช่อดอกที่ดอกย่อยมีก้านดอกแยกจากแกนกลาง ก้านดอกย่อยแต่ละดอกจะมีความยาวใกล้เคียงกัน ออกที่ข้างลำต้น ตั้งตรง ช่อดอกยาวได้ถึง 2 เมตร หนึ่งต้นให้มีช่อดอกได้ 4 – 5 ช่อต่อปี ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้น แต่ละช่อจะทิ้งช่วงเวลาออกช่อค่อนข้างห่าง หนึ่งช่อประกอบด้วยดอก 10-15 ดอก ขนาดดอกกว้าง
การปลูก นิยมปลูกลงในกระถางขนาดใหญ่ ใช้วัสดุปลูกเปลือกมะพร้าว หรือรากเฟินสีดา ถ่านดำ ปุ๋ยชนิดละลายช้าสูตร 16 – 16 – 16
การเลี้ยง ควรให้อยู่ในที่ร่มชอบความชื้นสูง พรางแสงประมาณ 50 %
กล้วยไม้เขาพระวิหาร เป็นกล้วยไม้ป่าชนิดหนึ่ง ซึ่งกำลังอยู่ในความนิยมของผู้ปลูกกล้วยไม้เพื่อการสะสม ทำให้เกิดการลักลอบนำกล้วยไม้ออกจากป่าเพื่อการค้า เนื่องจากการขยายพันธุ์ของกล้วยไม้เขาพระวิหาร เกิดขึ้นได้ยากในสภาพธรรมชาติ ประกอบกับเป็นที่ต้องการของนักสะสม ทำให้เกิดการลักลอบนำออกจากป่าเพื่อการค้าและมีการบุกรุกป่าเพื่อทำไร่ ทำให้กล้วยไม้ชนิดนี้ลดปริมาณลงเป็นอย่างมาก จึงถือเป็นกล้วยไม้ป่าที่จำเป็น ต้องทำการอนุรักษ์ ก่อนที่จะเกิดสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติ
บรรณานุกรม
ประชิด วามานนท์. 2552. เขาพระวิหาร หนังสือที่ระลึกงานกล้วยไม้ช้างชนช้างครั้งที่ 3 . หน้า 37-43.
ระพี สาคริก. กล้วยไม้สกุลแวนดอพซิส http://kukr.lib.ku.ac.th/Fulltext/KU0057448c3.pdf
http://www.benorchid.com/genera/vandopsis.htm
http://www.agri.ubu.ac.th/horticulture/pdf/Conservative_Plants.pdf
http://www.cpflower.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=207382&Ntype=2
http://orchids21.tripod.com/Html/Vandopsis.html
http://kantalak.blogspot.com/2007/02/150-28-30.html
http://www.panmai.com/Flower/Flower.shtml
เสาวนี เขตสกุล
นักวิชาการเกษตรชำนาญการ
ผู้รวบรวมและเรียบเรียง
ขอบคุณครับสำหรับความรู้ ผมมีกล้วยไม้อยู่หลายสกุลและได้อ่านสกุลนี้จึงมีความสนใจอยากรู้เพิ่มเติมครับ และได้มีความรู้เพิ่มมากเลยครับถ้าไม่เป็นการรบกวนมีเอกสารรึเปล่าครับขอด้วยครับ ชื่อเชิงชาย สมทรัพย์ 85-91 ถ.ผ้าขาว อ.เมีอง จ.กาฬสินธุ์ 46000 จะรอนะครับ (มือสมัคเล่น)เมลล์ job2512@hotmail.com
ตอบลบดิฉันได้นำบทความในบล๊อคนี้ไปเผยแพร่ที่นี่ค่ะ..
ตอบลบhttp://mblog.manager.co.th/chaba2550/th-100134/
กล้วยไม้เขาพระวิหาร หลักฐานทางธรณีวิทยาและสิ่งแวดล้อม (ภาพ-คลิป)..+*
ขอบคุณที่ให้ความรู้ค่ะ.. :)
คุณสมชาย : เจ้าของเรื่องตอนนี้ยังไม่มีเอกสารเพิ่มเติม แต่จะมีผลงานการทดลองออกมาเผยแพร่เร็วๆนี้ เป็นการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้เขาพระวิหาร ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการดำเนินการ สามารถทำเป็นต้นได้แล้ว
ตอบลบคุณชบาแดงสี เหลือง : ยินดีคะ ต้องขอขอบคุณที่นำผลงานจากบล็อกไปเผยแพร่ต่อ เป็นจุดประสงค์ของเราอยู่แล้วคะ