


1. ทำการเก็บผลผลิตเมื่อผลมะละกอปรากฏสีเหลือง 25 - 30 เปอร์เซ็นต์ หรือมีสีเหลืองหนึ่งในสี่ของผล นำมาบ่มไว้ 2 - 3 วัน จนมะละกอสุกเต็มที่แล้วผ่าขูดเอาเมล็ดออก
2. นำเมล็ดที่ได้มาแช่ในน้ำสะอาดให้ท่วมเมล็ด หมักไว้ 1 คืน ไม่ควรหมักเมล็ดไว้นาน เพราะจะทำให้เมล็ดมีเปอร์เซ็นต์ความงอกต่ำ
3. ล้างเมล็ดโดยนำเมล็ดมาใส่ถาดที่มีรูหรือถุงตาข่าย สวมถุงมือขยี้หรือใช้ยางบดเบาๆ เพื่อแยกเอาเยื่อหุ้มเมล็ดออก
4. นำเมล็ดที่แยกเยื่อหุ้มเมล็ดออกแล้วมาเทลงในน้ำ เลือกไว้เฉพาะเมล็ดดีที่จมน้ำ ทิ้งเมล็ดที่ลีบและที่ลอยน้ำไป
5. นำเมล็ดที่ดีซึ่งเป็นเมล็ดที่สมบูรณ์ และสะอาด ใส่ถาดหรือกระด้งไม้ไผ่นำไปผึ่งในที่ร่มมีลมถ่ายเท ประมาณ 2 - 3 วัน เมล็ดจะแห้ง (ผลผลิตมะละกอแขกดำศรีสะเกษ 1 ตัน ให้เมล็ดมะละกอสด 30 กิโลกรัม และได้เมล็ดพันธุ์ 5 กิโลกรัม)
6. ทำความสะอาดเมล็ดโดยนำเมล็ดที่แห้งดีแล้วมาร่อนเอาผงฝุ่น และสิ่งเจือปนอื่นๆ ออก
เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์มะละกอแขกดำศรีสะเกษและการนำไปใช้ประโยชน์
http://it.doa.go.th/refs/files/549_2551.pdf?PHPSESSID=962b3daad5a2663f92abb5d1e2b9ab8e
ลักษณะทางการเกษตร
เป็นพริกที่ให้ผลผลิตพริกสดและผลผลิตพริกแห้งสูงกว่าสายพันธุ์ที่เกษตรกรใช้อยู่ ผลสดมีสีแดงปนส้มเล็กน้อย ผลตรง ผลยาว 7.0 เซนติเมตร ผลกว้าง 0.95 เซนติเมตร ความสูงและเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 - 90 เซนติเมตร
การเก็บเกี่ยว ผลสุก 90 วันหลังปลูก ผลสด 1.69 ตัน/ไร่ ผลแห้ง 484.2 กิโลกรัม/ไร่ จำนวนผล 252 ผล/ต้น น้ำหนักผลสด 530.2 กรัม/ต้น
เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับการผลิตพริก
http://as.doa.go.th/plant/gap/gap_Chilli_1.htmlพริกขี้หนูหัวเรือ ศก.13
ลักษณะ ทางการเกษตร
เป็นพริกที่ให้ผลผลิตพริกสดและผลผลิตพริกแห้งสูงกว่าสายพันธุ์ที่เกษตรกรใช้อยู่ ผลสดมีสีแดงปนส้มเล็กน้อย ผลตรง ขนาดผลใหญ่ ผลยาว 7.8 เซนติเมตร ผลกว้าง 1.03 เซนติเมตร ความสูงและเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 - 90 เซนติเมตร
การเก็บเกี่ยว ผลสุก 90 วันหลังปลูก ผลสด 1.74 ตัน/ไร่ ผลแห้ง 476.9 กิโลกรัม/ไร่ จำนวนผล 241 ผล/ต้น น้ำหนักผลสด 545.1 กรัม/ต้น
การปรับปรุงพันธุ์พริกขี้หนูรับประทานสดพันธุ์หัวเรือ
http://it.doa.go.th/lib/images/Downloads/2550/EB00214.pdf
การศึกษาความหนาแน่นของประชากรพริกหัวเรือ ศก.13 ที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่จังหวัดน่าน
มะม่วง หิมพานต์ ศก.60-1, ศก.60-2
ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ได้ ทำการคัดเลือกพันธุ์ เพื่อให้ได้ต้นพันธุ์ดี ให้ผล ผลิตสูง ติดผลทุกปี ขนาดเมล็ดใหญ่ คุณภาพเมล็ดได้ มาตรฐานเนื้อใน เมล็ดดีหรือเมล็ดจมน้ำมากกว่า 75 เมล็ดในหนึ่งร้อยเมล็ด เมล็ดดิบ 4 กก. กะเทาะได้เมล็ดเนื้อในอย่างน้อย 1 กก.และมีลักษณะอื่นๆ ดี เช่น เป็นพันธุ์เบา ต้านทานต่อโรคแมลง มีลักษณะทรงพุ่ม ดี จึงได้พันธุ์ศรีสะเกษ 60-1 และ ศรีสะเกษ 60-2 เป็นพันธุ์รับรอง และพันธุ์ลูกผสมรวม ศรีสะเกษ -A (SK-A)เป็นพันธุ์แนะนำ
งานทดลองมะม่วงหิมพานต์ ศก.60-1 และ ศก.60-2
http://www.actahort.org/members/showpdf?booknrarnr=321_22
การปลูกมะม่วงหิมพานต์
http://natres.psu.ac.th/Researchcenter/tropicalfruit/fruit/cashewnut.htmมะม่วงแก้วศรีสะเกษ 007
ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ได้ทำการคัด เลือกพันธุ์มะม่วงแก้ว และกรมวิชาการเกษตรพิจารณา ให้เป็นพันธุ์แนะนำ เมื่อ วันที่ 24 สิงหาคม 2537
ลักษณะทางการเกษตร
- ต้านทานต่อโรคแอนแทรคโนสได้ดีเมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์น้ำดอกไม้ที่อ่อนแอ ต่อโรคนี้
- ผลผลิตสูงเฉลี่ย 65.4 กิโลกรัมต่อต้น เมื่ออายุ 7-8 ปี สูงกว่าพันธุ์อื่น 60 เปอร์เซ็นต์
- น้ำหนักผล 252 กรัม มีเนื้อ 81 เปอร์เซ็นต์
- ติดผลดก ผลใหญ่มีเนื้อมาก เปลือกหนาเนื้อแน่นแข็ง เหมาะสำหรับรับประทานสด สุกและแปรรูป
งานด้านบริการวิชาการ และถ่ายทอดเทคโนโลยี
ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ได้ดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยี และให้บริการวิชาการ แก่ข้าราชการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป ในรูปแบบ ต่างๆ ได้แก่
1. คลินิกเกษตรเคลื่อนที่
2. โครงการจังหวัดเคลื่อนที่
3. หน่วยงานต่าง ๆ ที่มีศึกษาดูงาน
4. เป็นวิทยากรในการฝึกอบรมต่างๆ ให้แก่เกษตรกร
5. จัดนิทรรศการ
6. งานวิเคราะห์บริการ ได้ดำเนินการตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม จากตัวอย่างพืช
- ศึกษาเทคโนโลยีการจัดการธาตุอาหารปาล์มน้ำมันลูกผสมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
- การทดสอบพันธุ์และเทคโนโลยีกับปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (จ.ศรีสะเกษ) |
- การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้เขาพระวิหารเพื่อการขยายพันธุ์ |
- การเปรียบเทียบพันธุ์สบู่ดำ |
- สำรวจ รวบรวม และศึกษาเชื้อพันธุกรรมพืชกลุ่มไม้ผลที่สำคัญจากแหล่งพันธุกรรมท้องถิ่น (on farm) และสภาพถิ่นเดิม (In situ) ได้แก่ ส้ม |
- สำรวจ รวบรวม และศึกษาเชื้อพันธุกรรมพืชกลุ่มไม้ผลจากแหล่งผลิตพันธุกรรมท้องถิ่น (on farm) และสภาพถิ่นเดิม (In situ) จำนวน 3 การทดลอง ได้แก่ ไม้ผลพื้นเมือง ไม้ผลเมืองร้อน มะะกอกน้ำมัน |
- สำรวจ รวบรวม และศึกษาเชื้อพันธุกรรมพืชกลุ่มไม้ดอกไม้ประดับจากแหล่งพันธุกรรมท้องถิ่น (on farm) และสภาพถิ่นเดิม (In situ) ไม้หอมและไม้ดอกไม้ประดับ จำนวน 2 การทดลองได้แก่ ไม้หอม บัว |
- สำรวจ รวบรวม และศึกษาเชื้อพันธุกรรมพืชกลุ่มผักพื้นเมืองจากแหล่งพันธุกรรมท้องถิ่น (on farm) และสภาพถิ่นเดิม (In situ ได้แก่ ผักพื้นเมือง |
- การศึกษาจำแนกลักษณะพันธุกรรมโดยสัณฐานวิทยาของพืชกลุ่มไม้ผลสำคัญ และพืชกลุ่มไม้ผล จำนวน 2 การทดลอง ได้แก่ ไม้ผลต่างประเทศ มะละกอ |
- การศึกษาจำแนกลักษณะพันธุกรรมโดยสัณฐานวิทยาของพืชสวนอุตสาหกรรม ในแปลงรวบรวมพันธุ์ (Ex situ) และสภาพถิ่นเดิม (In situ) ได้แก่ มะม่วงหิมพานต์ |
- การจำแนกลักษณะพันธุกรรมโดยสัณฐานวิทยาของพืช กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับที่มีศักยภาพในการแข่งขัน ในแปลงรวบรวมพันธุ์และพืชไม้ดอกไม้ประดับ ในแปลงรวบรวมพันธุ์ (Ex situ) และสภาพถิ่นเดิม (In situ) จำนวน 3 การทดลอง ได้แก่ กล้วยไม้สกุลหวาย แวนด้า และรองเท้านารี, มะลิ และบัว |
- การศึกษาจำแนกลักษณะพันธุกรรมโดยสัณฐานวิทยาของกลุ่มพืชสมุนไพร/พืชหายากในแปลงรวบรวมพันธุ์ (Ex situ) และสภาพถิ่นเดิม (In situ) ได้แก่ สมุนไพร |
- ศึกษา รวบรวมสายพันธุ์พืชสมุนไพรที่เป็นอาหารเสริมสุขภาพและสร้างสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ กระเจี๊ยบแดง |
- การปรับปรุงพันธุ์พริกขี้หนูพันธุ์จินดา (ทดสอบพันธุ์) |
- การปรับปรุงพันธุ์พริกพันธุ์ขี้หนูเลย (การเปรียบเทียบพันธุ์) |
- การปรับปรุงพันธุ์พริกขี้หนูพันธุ์ยอดสน (การเปรียบเทียบพันธุ์) |
- การผสมพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์พริกลูกผสมจินดา |
- การบริหารจัดการโรคใบหงิกเหลืองของพริก |
- การทดสอบพันธุ์มันเทศเพื่อการอุตสาหกรรมผลิตแป้งและเอทานอล (2 ฤดูกาลปลูก) |
- การทดสอบพันธุ์มันเทศเพื่อการบริโภคสด (2 ฤดูกาลปลูก) |
- ศึกษาการใช้วัสดุบำรุงดินที่เหมาะสมในการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพมันเทศในเขตดินทราย |
- ศึกษาการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตการบังคับมะกอกน้ำมันให้ออกดอก |
- วิจัยและพัฒนาพันธุ์กล้วยไม้สกุลหวาย และกล้วยไม้สกุลนางอั้วและสกุลม้าวิ่ง |
- การคัดเลือกสายพันธุ์เบญจมาศในแต่ละรุ่น |
- ศึกษารูปแบบแปลงสาธิตการจัดการการผลิตการจัดการศัตรูพืชที่เหมาะสมในการปลูกส้มปลอดโรคในพื้นที่ จ.ศรีสะเกษ |
- การทดสอบพันธุ์องุ่นจากต่างประเทศ |
- การคัดเลือกพันธุ์มะม่วงลูกผสมสายพันธุ์ใหม่เพื่อการส่งออกและการแปรรูป |
- ปรับปรุงพันธุ์มะละกอแขกนวล |